วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556











ขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) 
เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B)
     (ต้องมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า ๒๑ วันและต้องไม่อยู่เกิน)
๑. แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(แบบ ตม.๘๖)
     แบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบ ตม.๘๗)
๒. สำเนาหนังสือเดินทาง
๓. รูปถ่ายขนาด ๔ x ๖ ซ.ม. จำนวน ๑ รูป
๔. ค่าธรรมเนียม ๒,๐๐๐ บาท
๕. หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างงานคนต่างด้าว และขอความร่วมมือในการขอรับ
     หรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ, ตำแหน่ง, ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยน
     วีซ่าจาก ผ.30 หรือ TR เป็น NON-B)
๖. หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบของกรมการจัดหางาน ซึ่งสามารถ download จากเว็บไซต์ของ กระทรวงแรงงาน)
๗. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
๘. สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล
๙. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
๑๐. สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภพ.๐๑ ภพ. ๒๐ และ สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน
๑๑. สำเนางบดุลบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง)
๑๒. สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.๕๐) (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง)
๑๓. ในกรณีที่ ภ.ง.ด.๕๐(หน้า ๕ บรรทัดที่ ๓) ไม่ได้ระบุค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งบริษัทที่เปิดใหม่ยังไม่ครบรอบบัญชี
     ไม่มีงบการเงินและ ภงด.๕๐ ให้แสดงสัญญาเช่า บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
๑๔. สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและ
     กองนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ) (๐๒-๕๗๕๑๐๕๖-๙)
๑๕.สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย (ภ.ง.ด.๑)(ย้อนหลัง ๓เดือน)    
๑๖. แสดงรูปภาพของบริษัทถ่ายให้เห็นป้ายชื่อบริษัท สภาพการทำงาน, โต๊ะทำงานภายในบริษัท หรือ
     อาคารซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะงาน ๗ – ๑๐ ภาพ
๑๗.แผนที่บริษัท
๑๘. กรณีบริษัทได้รับการสงเสริม BOI ให้แสดงหนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน,การนิคมอุตสาหกรรม
     หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หากไม่มีให้แสดงหนังสืออนุมัติตำแหน่งจาก BOI

เอกสารประกอบการยื่นขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา เพื่อเป็นครูหรืออาจารย์(NON-B)
อยู่เกินในราชอาณาจักรไม่สามารถยื่นคำร้องได้
๑. แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (แบบ ตม.๘๖)
     แบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบ ตม.๘๗)
๒. สำเนาหนังสือเดินทาง
๓. รูปถ่ายขนาด ๔ x ๖ ซ.ม. จำนวน ๑ รูป
๔. ค่าธรรมเนียม ๒,๐๐๐ บาท
๕. สถานศึกษาของรัฐ
     ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
     - หนังสือรับรองการขอรับการตรวจลงตรา หรือเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
       จากอธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษา
     ระดับต่ำปริญญาตรี
     - หนังสือรับรองการขอรับการตรวจลงตราหรือเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราจาก
       ส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
        ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
     และ
     - แบบหนังสือรับรองการจ้าง(ตามแบบของกรมการจัดหางาน ซึ่งสามารถ download จากเว็บไซต์ของ กระทรวงแรงงาน)
     - สำเนาสัญญาว่าจ้าง(ให้ระบุวันเริ่มต้นการจ้างเป็นวันที่ยื่นคำขอรับการตรวจลงตราฯ หรือภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ตรวจลงตราฯ)
     - สำเนาคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ(ต้องแสดงฉบับจริง)
๖. สถานศึกษาเอกชน
     ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
     - หนังสือรับรองการขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราจากอธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษา
     ระดับต่ำปริญญาตรี
     - หนังสือรับรองการขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราจากส่วนราชการระดับ
       กรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
       หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
     โรงเรียนนานาชาติ
     - หนังสือรับรองการขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจ ลงตราจากครูใหญ่ หรือผู้จัดการ
     และ
     - แบบหนังสือรับรองการจ้าง(ตามแบบของกรมการจัดหางาน ซึ่งสามารถ download จากเว็บไซต์ของ กระทรวงแรงงาน)
     - สำเนาสัญญาว่าจ้าง(ให้ระบุวันเริ่มต้นการจ้างเป็นวันที่ยื่นคำขอรับการตรวจลงตราฯ หรือภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ตรวจลงตราฯ)
     - สำเนาคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ(ต้องแสดงฉบับจริง)
     - สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษา (ผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาพร้อมประทับตราเป็นสำคัญ)
     - สำเนาใบอนุญาตให้เป็นผู้บริหารของสถานศึกษา (ผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาพร้อมประทับตราเป็นสำคัญ)

เอกสารประกอบการยื่นขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(NON-B) เพื่อเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา หรือเป็นนักกีฬา
        อยู่เกินในราชอาณาจักรไม่สามารถยื่นคำร้องได้
๑. แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (แบบ ตม.๘๖)
     แบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบตม.๘๗)
๒. สำเนาหนังสือเดินทาง
๓. รูปถ่ายขนาด ๔ x ๖ ซ.ม. จำนวน ๑ รูป
๔. ค่าธรรมเนียม ๒,๐๐๐ บาท
๕. หนังสือจากการกีฬาแห่งประเทศไทยขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
๖. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม

การต่ออายุ Visa

สามารถต่อ visa ได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยมีเอกสารดังต่อไปนี้
-   ตม.7
-   สำเนาหนังสือเดินทาง
-   รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
-   ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
-  หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในบริษัทห้าง ร้าน ให้ระบุ..
ลักษณะประเภทธุรกิจ
ตำแหน่ง , รายได้ (รวมเงินเดือนและรายได้อื่นๆ) , คุณวุฒิการศึกษา
เหตุผลความจำเป็นในการจ้าง
จำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงาน (คนไทย และคนต่างด้าว) มีคนต่างด้าวกี่คน ชื่อะไร ตำแหน่งใด อัตราเงินเดือนเท่าใดบ้าง
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือ ใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท.2)
รายการเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.1) ของคนไทย (ยกเว้น บริษัท มหาชน-ไม่ต้องนำมาแสดง) และคนต่างด้าวเดือนล่าสุด
งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน, รายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50)ของปีล่าสุดหรือปีถัดไป แต่ไม่เกิน 2 ปีจาก ปีปัจจุบัน , ภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง 1 ปี(ยกเว้นบริษัท มหาชน ให้มีหนังสือรับรองยอดชำระภาษีตลอดปีโดย ไม่ต้อง แสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม)
กรณียื่นคำร้องขอยู่ต่อปีต่อไป ให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของคนต่างด้าวใน รอบปีที่ผ่านมา
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล , ใบสำคัญการจดทะเบียนบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (แบบ ทค.0401) หรือใบทะเบียนพาณิชย์(แบบ ทค.0403) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) และบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด (ยกเว้น บริษัทมหาชนไม่ต้องนำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมาแสดง)
กรณีดำเนินการส่งออกให้นำหลักฐานรับรองการส่งสินค้าออกจากธนาคาร หรือหลักฐานใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.101/1) ที่ผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดงกรณีเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ต้องแสดงหลักฐานรับรอง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างขาติจากหน่วยงานของรัฐหรือสมาคมไทยธุรกิจ การท่องเที่ยวหรือหลักฐานการจองห้องพัก ของโรงแรม
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
** หลักเกณฑ์การพิจารณาทั่วไปต้องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชน และมีการลงทุนสูง **

การรายงานตัว 90 วัน หากชาวต่างชาติต้องการพำนักในประเทศไทยเกิน 90 วัน ต้องแจ้งความประสงค์และแจ้งที่พักอาศัย ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด้วยตนเอง ทุก 90 วัน สามารถแจ้งก่อน 7 วันหรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด 90 วัน การแจ้งที่พักสามารถกระทำได้ตนเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นกระทำแทนได้
เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน มีดังนี้
1. หนังสือเดินทางและสำเนาหน้าแรกและหน้าวีซ่าล่าสุด
2. แบบฟอร์มการแจ้งอยู่เกิน 90 วัน
กรณีที่ชาวต่างชาติอยู่เกิน 90 วัน โดยไม่แจ้งที่พักต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือแจ้งช้ากว่ากำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเองและเสียค่าปรับ 2,000 บาท หรือหากชาวต่างชาติถูกจับกุมไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ต้องเสียค่าปรับ 4,000 บาท
โปรดทราบ: การแจ้งที่พักและรายงานตัวทุก 90 วัน ไม่ใช่การขออยู่ต่อในประเทศไทย









Thailand Work Permit      

ชาวต่างประเทศใดๆที่ทำงานในประเทศไทยต้องได้รับ work permit ก่อนการเริ่มต้นงาน  

และมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1)  ชาวต่างด้าวทำงานกับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทต่อชาวต่างด้าว 1 คน
2)  ชาวต่างด้าวทำงานกับบริษัทที่มีลูกจ้างคนไทย 4 คนต่อชาวต่างด้าว 1 คน
3)  วิชาชีพที่ชาวต่างด้าวทำถูกต้องตามกฎหมาย

Any foreigner working in Thailand must obtain a Work Permit
 before beginning work. For apply the general work permit, there has the  basic consideration as follows:
1)    For the foreigner workers who work with the company whose  business have a registered paid-up capital of not less than 2 million baht per 1 foreigner.
2)     For the foreigners who work with the company who employ four  Thai workers; a work permit will be issued to a foreigner for every  four Thai workers.
3)    The position of the foreigner should not be prohibited by laws.


การขอใบอนุญาตทำงาน
“คนต่างด้าวระดับฝีมือ/ชำนาญการ” 

1. การขอรับใบอนุญาตทำงาน
คนต่างด้าวที่ประสงค์จะท างานต้องมีวีซ่า NON - IMMIGRANT - B โดยคนต่างด้าวต้องให้นายจ้าง/สถานประกอบการจัดเตรียมและส่งสัญญาจ้างพร้อมเอกสารการดำเนินงานธุ รกิจของสถานประกอบการนำไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ พิจารณาออกวีซ่า NON - IMMIGRANT - B โดยเมื่อคนต่างด้าวได้รับวีซ่านั้นแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1” หากสถานทูตไทยในประเทศนั้นพิ จารณาเอกสารการดำเนินธุรกิจและสถานะทางการเงินของนายจ้าง/สถานประกอบการแล้วเห็นว่ายังไม่เพี ยงพอต่อการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน ทำให้ต้องการหนังสือจากกระทรวงแรงงานต่อไปอีก จึงให้นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามแบบคำขอ “ตท.3” เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการได้รับหนังสือแจ้งการพิ จารณาอนุญาตทำงานแล้ว ต้องจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คนต่างด้าวนำไปยื่นขอวีซ่า NON – IMMIGRANT - B ณ สถานทูตไทยในประเทศนั้น หลังจากนั้นคนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน 30 วั นนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาต เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมเอกสารตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งผล  ทั้งนี้ กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจาตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1” โดยไม่ต้องดำเนินการขอวีซ่า NON - IMMIGRANT - B

2. คนต่างด้าวต้องไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามเงื่อนไข ดังนี้
2.1 มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
2.2 ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
2.3 ไม่เป็นผู้ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏ อาการอันเป็นที่
รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
2. 4 ไม่เ คยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทางานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

3. คนต่างด้าวต้องไม่ขอทำงานตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จ านวน 39 อาชีพ (เรียกดูข้อมูลในเมนู “ข้อมูลเผยแพร่”)

4. หลักเกณฑ์ การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว โดยคำนึงถึง 
 -  ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
 -  โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
  (ตัวอย่างเช่น คนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน)
 -  ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือการพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน

5. การกำหนดจำนวนการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน
 5.1 นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนช าระแล้วไม่ต่ากว่า 2 ล้านบาท หรื อจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนไม่ต่ ากว่ า 3 ล้านบาท ออกใบอนุญาตทำงานให้ 1 คน และให้เพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อขนาดการลงทุนทุก 2 หรือ 3 ล้านบาท เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย ขนาดของการลงทุนลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ไม่เกิน 10 คน /หรือ

 5.2 การออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวท างานกับนายจ้าง/สถานประกอบการดังต่อไปนี้  จำนวนของการออกใบอนุญาตทำงานเป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสม
  -  ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา /หรือ
  -  ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา /หรือ
  -  สถานประกอบการมีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน /หรือ
  -  เป็นงานที่ใช้ เทคโนโลยีซึ่งคนไทยทำไม่ได้หรือใช้ ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลาแน่นอน /หรือ
  -  สถานประกอบการช าระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท /หรือ
  -  หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน หรือคนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานดังกล่าว /หรือ
  -  สถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีหนังสือแต่งตั้งให้เป็นครู /ผู้สอน/บุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน /หรือ
  -  มูลนิธิ  สมาคม หรือองค์กรอื่ นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม /หรือ
  -  กิจการบันเทิง มหรสพ ดนตรี ซึ่งมีลักษณะการจ้างงานเป็นครั้งคราวมีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน /หรือ
  -  อื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงาน
ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 (เรียกดูข้อมูลในเมนู “ข้อมูลเผยแพร่”)
หมายเหตุ  พิจารณารายได้ขั้นต่าของคนต่างด้าวประกอบด้วย (ตามตารางเงินได้ในหัวข้อที่ 16)

6. อายุของใบอนุญาตทำงาน พิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอ ทั้งนี้ไม่เกิน 2 ปี/ครั้ง

7. การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน คนต่างด้าวผู้รับใบอนุญาตทำงาน หากประสงค์จะทำงานนั้นต่อไป ต้องไป ขอต่ออายุวีซ่าจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อน แล้วจึงให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.5”โดยต้องยื่นแบบคำขอก่อนสิ้นอายุการอนุญาต ทั้งนี้ “ใบอนุญาตทำงานที่สิ้นอายุแล้วไม่สามารถต่ออายุได้”

8. การเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน สถานที่ และท้องที่ในการทำงาน คนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานที่ยังคงทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการที่อนุญาตไว้เดิม ดังนี้
 - เปลี่ยน/เพิ่มที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขา ยื่นขออนุญาตตามแบบคำขอ “ตท.6
 - เปลี่ยน/เพิ่มประเภทหรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิม หรือเพิ่ มนายจ้าง/สถานประกอบการแห่งใหม่ ยื่นขออนุญาตตามแบบคำขอ “ตท.6

9. การเปลี่ยนนายจ้าง/สถานประกอบการ คนต่างด้าวต้องไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อลงตรา  VISA พ้นหน้าที่เดิมและขออยู่ต่อในราชอาณาจักรอีก 7 วัน หรือเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปขอ Non -Immigrant VISA ใหม่จากสถานทูตไทย แล้วจึงยื่นขอใบอนุญาตทำงานใหม่ ตามแบบคำขอ“ตท.1” เพื่ อทำงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการใหม่ก่อน VISA หมดอายุ

10. คนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานประสงค์ จะมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ - นามสกุล สัญชาติลายมือชื่อ การย้ายที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ชื่อสถานประกอบการรายละเอียดของสถานประกอบการตามประกาศของทางราชการ และ การเปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทธุรกิจ ให้ยื่น “คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต

11. กรณีใบอนุญาตทำงานเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือ สูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานภายใน15 วัน นับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหาย ยื่นตามแบบคำขอ “ตท.4”

12. การขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน กรณีคนต่างด้าวผู้ถือใบอนุญาตทำงานลาออก จากงาน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวนั้นออกจากงาน และหากมีความประสงค์ จะแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ยื่นแจ้งตามแบบ “ใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน” ภายหลังจากคนต่างด้าวออกจากงาน แล้ว โดยไม่มีบทลงโทษหรือกำหนดระยะเวลาการแจ้ง

13. การแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน กรณีคนต่างด้าวที่พำนักอยู่ นอกราชอาณาจักรมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน โดยมีระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 15 วั น ให้ยื่นแจ้งตามแบบคำขอ “ตท.10” ทั้งนี้ “งานที่เข้ามาทำนั้นต้องมีลักษณะเป็นงานอันจำเป็นและเร่งด่วนถึงขนาด ซึ่งถ้าไม่รีบทำงานดังกล่าวแล้วน่าจะเกิดความเสียหายขึ้น โดยไม่มีกำหนดการณ์ล่วงหน้า และมีระยะเวลาในการทำงานแล้วเสร็จได้ภายใน 15 วัน” หมายเหตุ ไม่มีการต่ออายุให้อีก

14. สถานที่ติดต่อยื่นคำขอให้ดำเนินการ ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ ดังนี้
- กรุงเทพมหานครติดต่อ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ชั้น 2 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
- ในส่วนภูมิภาค/ต่างจังหวัด ติดต่อ สำนักงานจัดหางานจังหวัดตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 

15. อัตราค่าธรรมเนียม
 (1) การยื่นคำขอ                                                           ฉบับละ      100  บาท
 (2) ใบอนุญาต
(ก) ใบอนุญาตที่มีอายุไม่เกินสามเดือน                                  ฉบับละ      750  บาท
(ข) ใบอนุญาตที่มีอายุเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน                ฉบับละ      1,500  บาท
(ค) ใบอนุญาตที่มีอายุเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี                    ฉบับละ      3,000  บาท
 (3) การต่ออายุใบอนุญาตหรื อการขยายระยะเวลาการทำงาน
(ก) การต่ออายุใบอนุญาตหรื อการขยายระยะเวลาการทำงาน
ไม่เกินสามเดือน                                                             ครั้งละ       750 บาท
(ข) การต่ออายุใบอนุญาตหรื อการขยายระยะเวลาการทำงาน
เกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน                                           ครั้งละ       1,500 บาท
(ค) การต่ออายุใบอนุญาตหรื อการขยายระยะเวลาการทำงาน
เกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี                                               ครั้งละ        3,000 บาท
 (4) ใบแทนใบอนุญาต                                                    ฉบับละ       500  บาท
 (5) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน                        ครั้งละ        1,000 บาท
 (6) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง                             ครั้งละ       3,000 บาท
 (7) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน        ครั้งละ       1,000 บาท
 (8) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มเงื่อนไขในการอนุญาต            ครั้งละ       150  บาท






WORK PERMIT APPLICATION
“SKILL AND PROFESSION”

How to apply for Work Permit
A  foreigner  who  wishes  to  apply  for  a  work  permit  must  receive  a  Non- Immigrant-B visa to live in the Kingdom of Thailand. A foreigner should have employer’s documents plus employment contract in order to submit a Non-Immigrant-B visa at a Royal Thai Embassy. And then a foreigner enters to Thailand have to apply for Work Permit by means of applying “WP.1”.
In case when a Royal Thai Embassy considers that employer’s documents is not
enough, an approval letter from Ministry Of Labour will be required. So the employer applies for a work permit for prospective foreigner employees by means of applying “WP.3”. In case the employer receives an approval letter of Work Permit, employer sends the letter to foreigner in order to apply for a Non-Immigrant-B visa at the Royal Thai Embassy. Then the foreigner has to enter to the Kingdom in order to apply for a Work Permit with documents which specified in the letter within 30 days from the day of picking up the approval letter.
However,  a  foreigner  who  has  a  Certificate  of  Permanent  Residence  and Certificate of  Alien  apply for  Work  Permit by  means  of  applying  “WP.1”. A  Non- Immigrant-B visa is not required.

Qualifications of foreigner for Work Permit application
1. Having the knowledge and/or skills to perform the work as stated in the application for
a Work Permit.
2. Not being insane or mentally sick, suffering from Leprosy, Tuberculosis, Drug Addiction,
Alcoholism, Elephantitus and third stage of Syphilis.
3. Never having been imprisoned for violation of the Immigration Law or the Working of
Foreign Act at least one year prior to the date of application.

Foreigner must not work in occupation and profession which prohibits a foreigner to engage as the following:
1.1 Manual work
1.2 Work in agriculture, animal husbandry, forestry or fishery excluding specialized work in each particular branch or farm supervision
1.3 Bricklaying, carpentry or other construction works
1.4 Wood carving
1.5  Driving mechanically propelled carried or  driving non-mechanically-propelled vehicle, excluding international aircraft piloting
1.6 Shop attendance
1.7 Auction
1.8 Supervising, auditing or giving service in accountancy excluding internal auditing
on occasions
1.9 Cutting or polishing jewelry
1.10 Haircutting, hairdressing or beauty treatment
1.11 Cloth weaving by hand
1.12 Weaving of mate or making products from reeds, rattan, hemp, straw or bamboo pellicle
1.13 Making of Sa paper by hand
1.14 Lacquer ware making
1.15 Making of Thai musical instruments
1.16 Niello ware making
1.17 Making of products from gold, silver or gold-copper alloy
1.18 Bronze ware making
1.19 Making of Thai dolls
1.20 Making of mattress or quilt blanket
1.21 Alms bowls casting
1.22 Making of silk products by hand
1.23 Casting of Buddha images
1.24 Knife making
1.25 Making of paper of cloth umbrella
1.26 Shoemaking
1.27 Hat-making
1.28  Brokerage  or  agency  excluding  brokerage  or  agency  in  international  trade business
1.29  Engineering  work  in  civil  engineering  branch  concerning  designing  and
calculation, organization, research, planning, testing, construction supervision or advising excluding specialized work
1.30 Architectural work concerning designing, drawing of plan, estimating, construction
directing or advising
1.31 Garments-making
1.32 Pottery or ceramic ware making
1.33 Cigarette making by hand
1.34 Guide or conducting sightseeing tours
1.35 Street vending
1.36 Type-setting of Thai characters by hand
1.37 Drawing and twisting silk-thread by hand
1.38 Office or secretarial work
1.39 Legal or lawsuit services
Criteria for consideration for Work Permission
1. The national security of the country in views of politic, religion, economy, and society.
2.  The  occupational  opportunity  of  Thais  and  the  demand  of  foreign  workers  as necessary for the country development.
3. The benefits from granting work permission in particular occupations to foreigners,
such as large amount of foreign currencies brought by foreign investors for investment and spend in Thailand, employment opportunities for a number of Thais, and skill enhancement of Thais which acquired from technology transferring by foreigners.

Criteria prescribing number of Work Permit issuance
1.  The employers whose business has a registered paid-up capital of not less than 2
million baht. Work Permit shall be issued to an alien worker for every two-million baht investment /or the overseas registered employers who perform business in Thailand with an investment of capital from overseas of not less than 3 million Baht; Work Permit shall be issued to an alien worker for every three-million Baht investment. For the aliens who are married to Thai nationals and have a marriage certificate and cohabit as husband or wife, the amount of investment capital required in order to receive a Work Permit shall be reduced to half of the amount prescribed above. The number of alien workers to be granted Work Permit shall not be more than ten people. The employers whose business has a registered paid-up capital of not less than 2 million baht. Work Permit shall be issued to an alien worker for every two-million baht investment /or the overseas registered employers who perform business in Thailand with an investment of capital from overseas of not less than 3 million Baht; Work Permit shall be issued to an alien worker for every three-million Baht investment. For the aliens who are married to Thai nationals and have a marriage certificate and cohabit as husband or wife, the amount of investment capital required in order to receive a Work Permit shall be reduced to half of the amount prescribed above. The number of alien workers to be granted Work Permit shall not be more than ten people. /OR
2.  The employers whose business have paid up capital of minimum 2 million Baht /or the  employers who have  overseas registered and  perform the  business in  the Kingdom with not less than 3 million Baht of overseas capital, which have the below qualifications, the number of alien workers are granted as necessity and suitability:
(a) Alien workers who can use technology which Thai nationals cannot perform or where there is a shortage of Thai worker. However, there shall be a technology transfer to at least 2 Thai nationals with the time limit.
(b) Alien  workers  who  possess  expertise  to  accomplish  the  work  in  a  limited timeframe project.
(c) Alien workers who work in entertainment business with a temporary contract.
(d) Paying tax revenue at least 3 million Baht in previous year.
(e) Performing export business and bringing foreign currencies into Thailand at least
30 million Baht in previous year.
(f)  Performing tourism business which brought at least 5,000 foreign tourists into
Thailand in previous year.
(g)  Employing at least 100 Thai workers. /OR
3.  The alien work for a foundation, association or other nonprofit organizations, which create benefits to society as a whole. /OR
4.  For the aliens who work with and have certified letters from central or regional or local government offices, state enterprises and public organizations under Public Organization Act which identifies name, position and duration of work. /OR
5.  Others which is defined in the Criteria for the Consideration for Work Permit Issuance
B.E.2552
Remark the minimum salary requirements prescribed by the Immigration Rule shall be
included in consideration.

Validity of Work Permit
1.  A Work Permit is issued for 2 year period and may be renewed every two year
thereafter
2.  An authorized official may grant a work period according to the necessity of work, but for not later than 2 year

Work Permit renewal
The Work Permit holder whose Work Permit is going to expire but wish to
continue  work  as  stated  in  the  Work  Permit.  The  renewal  application  should  be submitted before the expiry date of Work Permit by means of “WP.5”. “The expired Work Permit is unable to renew”

Changing / adding work or workplace or locality of work
The Work Permit holder who remains work in the same employer wishes to change/add work or workplace or locality of work are as the following:
-    Change/add place of work in the present employer submit “WP.6
-    Change/add job description in the present employer Or add new employer submit “WP.6”

Changing employer
The Work Permit holder has to notify the Immigration Bureau of such change and
request to continue for staying in Thailand or the foreign worker has to travel out of the
Kingdom of Thailand in order to apply for a new non-immigrant visa from Royal Thai
Embassy abroad. After entering to the Kingdom, then apply for a new Work Permit “WP.1”
before the expiry date of visa.


The  Work  Permit  holder require for changing name  –  surname,  nationality, signature, and address /or company/enterprise change any information according to the government declaration, and addition of type of business. After the application completed, the  process will  finish within 3  working days.  Applicant should submit “APPLICATION FOR CHANGING ITEMS IN WORK PERMIT”.

In case of Work Permit damage or lost
Work Permit is materially damaged or lost. The Work Permit holders must apply
for a substitute Permit within 15 days from the day of the knowledge of such damage or lost by means of “WP.4”.

Informing to engage in the work which is of necessity and urgency
Foreigner workers who enter the kingdom of Thailand to engage in the work, which is of necessity or urgency for the period not longer than 15 days, should notify “WP.10”. However, that work must exceedingly necessary and urgent as if there will be the serious problem, if it could not to be done immediately. And that work could be finished within a period of 15 days.  Remark it can not to be renewed.

PALCE TO CONTACT
- An enterprise located in Bangkok, contact the Office of Foreign Workers Administration
2nd Floor, Department of Employment, Ministry Of Labour, Mitr-maitri Road, Din Daeng, Bangkok
- An enterprise located in other province, contact the Provincial Employment Office in the province that the enterprise located.

RATE OF FEE
(1) An application form                                                              100 Baht/form
(2) A Work Permit
   (a) valid for not exceed 3 months                                          750 Baht/book 
   (b) valid for 3 – 6 months                                                      1,500 Baht/book 
   (c) valid for 6 months – 1 year                                               3,000 Baht/book
(3) A Work Permit renewal / a working period extension
   (a) renewal/extension for not exceed 3 months                     750 Baht/book 
   (b) renewal/extension for 3 – 6 months                                1,500 Baht/book 
   (c) renewal/extension for 6 months – 1 year                         3,000 Baht/book
(4)  Substitute of a Work Permit                                               500 Baht/book
(5) Permission to change or add job description                       1,000 Baht/time 
(6) Permission to change or add employer                                 3,000 Baht/time 
(7) Permission to change or add the locality or workplace          1,000 Baht/time 
(8) Permission to change or add conditions                                150 Baht/time

Restriction on Work Permit
1.  Alien must keep the Work Permit on himself or at the place of work during working hours.
2.  In case the foreign worker change the employer, he/she has to notify the Immigration
Bureau of such change and request to continue for staying in Thailand with the new employer or the foreign worker has to travel out of the Kingdom of Thailand in order to apply for a new non-immigrant visa from Royal Thai Embassy abroad. After entering to the Kingdom, then apply for a new Work Permit (Form WP.1) before the expiry date of visa.
3.  Alien must perform to work in a job which is permitted in the Work Permit. If a holder
needs to work for the other job or location or work place, a holder must be permitted  by  the  Registrar  before  working.  Whoever  abuses  the  Law  will  be imprisoned not exceeding five years or fined or both.
4.  Work  Permit  must  be  extended before expiry. The  expired permits  cannot be extended.
5.  Changing  name,  surname,  nationality  and  address  of  applicant  or  name  of
company/enterprise must notify to the registrar immediately.
6.  The employer is not allowed to employ the foreigner worker who does not have the Work Permit or employ them to engage in the work that its job description or condition is different from the job description or condition specified in the Work Permit. The violator shall be liable to be fine not exceeding 100,000 Baht.









ให้บริการงานด้าน BOI ทุกขั้นตอน รวมถึงการขอคืนอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบ
โดยนำเสนอหัวข้อการบริการ ดังต่อไปนี้

1.การขออนุมัติรายการเครื่องจักร (Apply Machine Master List)

2.การขออนุมัติสต็อคสูงสุด/บัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิต (Apply max stock/Raw material master list and Formulation)

3. การขออนุมัติเปิดดำเนินการ (Applying for Full Operation License Project)

4.การขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร, การขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบ และการขอออนุมัติตัดบัญชีรายการวัตถุเครื่องจักร,วัตถุดิบ และส่วนสูญเสีย (  Order release machinery, Apply Order materials and apply for cutting stock machinery/Material and Scrap)

5. การขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าสำหรับคนต่างด้าวและผู้เชี่ยวชาญในระดับผู้บริหาร ผู้จัดการและช่างเทคนิค (Applying Work Permit & Visa For an alien and experts – level executives managers and technicial)

6.การให้บริการในการนำเข้า – ส่งออก แบบ BOI (Service For Import – Export BOI

7.การให้บริการในการขอคืนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบ (Tax refund)



การคืนอากรตามมาตรา ๑๙ ทวิ

การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 9 ) พ.ศ. 2482 เป็นการคืนค่าภาระภาษีอากร สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า ได้แก่ อากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมภาษีอื่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย ที่ผู้นำของเข้าได้เสียหรือวางประกันไว้ขณะนำเข้าเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตผสม ประกอบหรือบรรจุเป็นสินค้าส่งออก แล้วก็จะได้รับการคืนอากรโดยจะคำนวณค่าภาษีอากรที่คืนให้ตามสูตรการผลิต ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข ว่าจะต้องผลิตส่งออกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้นำเข้า และต้องขอคืนเงินอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

(1) ของที่นำเข้ามา ต้องนำมาผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ แล้วส่งออกไปต่างประเทศ หรือส่งไปเป็นของใช้ สิ้นเปลืองในเรือเดินทาง ไปต่างประเทศ
(2) ของที่นำเข้ามาต้องมิใช่ของที่กฎกระทรวงระบุห้ามคืนเงินอากร
(3) ปริมาณของที่นำเข้า ซึ่งใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุเป็นของที่ส่งออก ให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่ อธิบดีกรมศุลกากรเห็นชอบ หรือประกาศกำหนดไว้
(4) ของนั้นต้องส่งออกไปทางท่า หรือที่สำหรับการส่งออก ซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า
(5) ของนั้นได้ส่งออกไป ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำของซึ่งใช้ในการผลิต ผสมหรือประกอบเป็นของที่ส่งออก หรือใช้บรรจุ ของที่ส่งออกเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่อาจส่งออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีกรมศุลกากรอาจขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
(6) ผู้นำของเข้าต้องขอคืนอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป แต่อธิบดีกรมศุลกากรจะขยายเวลาออกไป ตามที่เห็นสมควรได้

ของที่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ

1. วัตถุดิบที่เห็นได้ชัดว่ามีอยู่ในของที่ผลิตเพื่อส่งออก
2. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโดยตรงที่มีอยู่ในของที่ผลิตส่งออก แต่ไม่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน
3. วัตถุดิบจำเป็นที่ใช้ในการผลิต

ของที่ไม่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ

1. เครื่องจักร เครื่องมือ แม่พิมพ์ (Mould) เครื่องใช้ในการผลิตชนิดต่าง ๆ
2. เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต


ขั้นตอนคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ

1. การขออนุมัติหลักการ

(1) ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ( แบบ กศก.29) ต่อส่วนคืน และชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร โดยแจ้งความจำนง ดังนี้
       (1.1) ผู้นำของเข้าต้องแจ้งความจำนงว่าจะนำเข้าวัตถุดิบชนิดใด เพื่อผลิตเป็นสินค้าชนิดใด
       (1.2) ผู้นำของเข้าต้องแจ้งความจำนงว่าจะชำระอากรด้วยเงินสด หรือใช้หนังสือธนาคารค้ำประกัน ดังนี้
              (1.2.1) ชำระอากรเป็นเงินสดเต็มจำนวน หรือ
              (1.2.2) ใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันได้ โดยวางประกันให้คุ้มค่าภาษีอากร หรือ
              (1.2.3) ใช้ธนาคารค้ำประกัน โดยวิธีวางประกันลอย ( RGS : Revolving Guarantee System )
              (1.2.4) ผู้นำของเข้าที่ประสงค์จะขอลดอัตราอากรเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่ เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ต้องเป็นนิติบุคคล ไม่มีหนี้สินค้างชำระต่อกรมศุลกากร และไม่มีประวัติที่กรมศุลกากรว่าเคยทุจริตในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ               แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
              (1) เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
              (2) เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน)
              (3) เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและได้รับการรับรองจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ตามหลักเกณฑ์ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
              (4) เป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและได้รับการรับรองจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ตามหลักเกณฑ์ท ี่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
              (5) ได้นำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ตามข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้รับรองว่าเป็นกิจการที่มีกำไรย้อนหลังไม่ต่ำกว่าสองปีบัญชีติดต่อกัน และไม่เคยได้รับการปฏิเสธการรับรองฐานะการเงินจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
              (1.2.5) ผู้นำของเข้าที่ประสงค์จะขอลดอัตราอากรเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ต้องเป็นนิติบุคคล ไม่มีหนี้สินค้างชำระต่อกรมศุลกากร และไม่มีประวัติที่กรมศุลกากรว่าเคยทุจริตในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำของเข้าระดับบัตรทองของกรมศุลกากร

       (2) เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุมัติหลักการ
              (2.1) คำร้องแสดงความจำนงขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ( แบบ กศก.29)
              (2.2)หนังสือรับรองของประทรวงพาณิชย์ที่แสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจกระทำการแทน ทุนจดทะเบียน และที่ตั้งสถานประกอบการ ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
              (2.3) ใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือหนังสือรับรองการประกอบกิจการจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีไม่มีโรงงานเป็นของตนเองให้แสดงหนังสือสัญญาเช่า สัญญาว่าจ้าง               หรือหนังสือสัญญาซื้อขายและใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือหนังสือรับรองการประกอบกิจการจากหน่วยงานของรัฐของผู้ให้เช่า ผู้รับจ้าง หรือผู้ซื้อ
              (2.4) งบการเงินที่ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตรับรอง (กรณีขอใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากร)
       (3) กรมศุลกากรจะมีหนังสือแจ้งการอนุมัติหลักการ และรหัสผู้นำของเข้าภายใน 1 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร ครบถ้วน
2. การนำเข้าวัตถุดิบ
2.1 การผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI)
       (1) ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นชุดใบขนสินค้าขาเข้า และแนบใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า โดยสำแดงข้อความ " ขอคืนอากร ตามมาตรา 19 ทวิ” ( กรณีชำระอากรเป็นเงินสด ) แต่หากเป็นกรณีใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันให้สำแดงข้อความว่า “ ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีค้ำประกัน (หรือวิธีวางประกันลอย)” ที่มุมขวาด้านบนของใบขนสินค้าขาเข้า และ ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อฝ่ายการนำเข้า สำนักงานศุลกากร/ ด่านศุลกากรที่นำเข้า
       (2) ผู้นำของเข้าสามารถขอรับใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า จากหน่วยตรวจปล่อยสินค้าทันที หลังการตรวจปล่อยเสร็จสิ้น/ หรือขอรับจากหน่วยงานที่ตรวจสอบตัวอย่างทันที หลังการตรวจสอบเสร็จสิ้น เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอคืนอากร ต่อไป
(3) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าวัตถุดิบ
       (3.1) บัตรประชาชนเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือผู้รับมอบอำนาจ ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้กับกรมศุลกากร
       (3.2) ใบขนสินค้าขาเข้า ( แบบ กศก.99/1)
       (3.3) ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า ( แบบ กศก.99 ก)
       (3.4) บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
       (3.5) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
       (3.6) ใบตราส่งสินค้า (B/L, Bill of Lading)
       (3.7) ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตสำหรับของควบคุมการนำเข้า ( ถ้ามี)
       (3.8) แบบธุรกิจต่างประเทศ ( ธ. ต.2) ( ถ้ามูลค่าเกิน 500,000 บาท)
       (3.9) ใบรับรองแหล่งกำเนิด (C/O, Certificate of Original) ( ถ้ามี)
       (3.10) หนังสืออนุมัติหลักการ
       (3.11) รายละเอียด หรือแคตตาล็อคของสินค้า
2.2 การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)
       (1) ให้ผู้นำของเข้าที่ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
              (1.1) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละรายการ (Import Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (19 BIS) ต้องมีค่าเท่ากับ Y เท่านั้น
              (1.2) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละรายการ (Import Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิพิเศษ (Privilege Code)
                     (1.2.1) กรณี ผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด ในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้นำของเข้าระบุรหัสสิทธิพิเศษตามที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ในการชำระภาษีอากรจริง เช่น AF1 การให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน, TAU การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย โดยระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลกับแฟ้มข้อมูลรหัสสิทธิพิเศษ
                     (1.2.2) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ลดอัตราอากรเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป หรือลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าชำระอากรในอัตราปกติ โดยบันทึกในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ในช่องสิทธิพิเศษ ระบุเป็น “000” อัตราปกติ เท่านั้น
              (1.3) ในส่วนค่าภาษีอากร (Import Declaration Detail (Duty)) ในแต่ละรายการของใบขนสินค้าขาเข้า
                     (1.3.1) กรณี ผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด ในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้นำของเข้าระบุค่าภาษี (Duty Amount) และช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) เท่ากันตามจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง
                     (1.3.2) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ลดอัตราอากรลงเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป หรือลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ให้ผู้นำของเข้าระบุค่า ดังนี้
                            (1.3.2.1) ในช่องค่าภาษี (Duty Amount) ให้ระบุค่าภาษีเต็มจำนวน และ
                            (1.3.2.2) ในช่องอัตราอากรลดหย่อน (เปอร์เซ็นต์) (Exemption Rate) ให้ระบุอัตราที่ได้รับลดหย่อน เช่น บันทึกลดหย่อน 95% “95” เพื่อให้คำนวณลดหย่อนยอดเงินอากรที่ต้องชำระจริงลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราปกติ
                            (1.3.2.3) ในช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) ให้ระบุค่าภาษีที่ได้คำนวณลดอัตราอากรแล้ว
                     (1.3.3) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ใช้การค้ำประกันแทนการชำระค่าภาษีอากร ให้ผู้นำของเข้า ระบุค่า ดังนี้
                            (1.3.3.1) ในช่องค่าภาษี (Duty Amount) ให้ระบุค่าภาษีเต็มจำนวน และ
                            (1.3.3.2) ให้บันทึกอัตราอากรลดหย่อน (เปอร์เซ็นต์) (Exemption Rate) เพื่อให้คำนวณลดหย่อนยอดเงินอากรที่ต้องชำระจริง (ถ้ามี)
                            (1.3.3.3) ในช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) ให้ระบุค่าเป็นศูนย์ “0”
                            (1.3.3.4) ในช่องเงินประกัน (Deposit Amount) ให้ระบุค่าเท่ากับค่าภาษีที่คำนวณได้ แล้วปัดตัวเลขเป็นตัวกลมในหลักสิบ
       (2) ผู้นำของเข้าที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารไม่ต้องจัดทำใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
3.การยื่นสูตรการผลิตในระบบอิเล็คทรอนิคส์ (e-Formula)
(1) ภายในระยะเวลาอันควร ก่อนการส่งของออก ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นคำร้องเพื่อขออนุมัติกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1.1) สูตรการผลิต (รวมสูตรการผลิตที่ใช้วัตถุดิบ 1 หน่วยต่อผลิตภัณฑ์ 1 หน่วย หรือนับชิ้นได้)
(1.2) ขอใช้สูตรการผลิตร่วมกับสูตรการผลิตของผู้อื่นโดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เป็นเจ้าของสูตรการผลิต
(1.3) ขอแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุดิบเข้าในสูตรการผลิตที่กรมศุลกากรอนุมัติแล้ว
(1.4) ขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อผลิตภัณฑ์ในสูตรการผลิตที่กรมศุลกากรอนุมัติแล้ว
(2) สูตรการผลิตที่ยื่นใหม่ กรมศุลกากรจะอนุมัติภายใน 30 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน
(3) สูตรการผลิตที่อนุมัติแล้ว จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดให้ใช้ตัดบัญชีวัตถุดิบ ( ไม่รวมสูตรมาตรฐาน) และขอต่ออายุสูตรการผลิตได้คราวละ 5 ปี ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 66/2551
(4) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการยื่นสูตรการผลิต
(4.1) คำร้องขอยื่นสูตรการผลิต (แบบ กศก.96)
(4.2) รายชื่อวัตถุดิบ รหัสวัตถุดิบ หน่วยวัตถุดิบ ปริมาณการใช้วัตถุดิบรวมส่วนสูญเสีย (ถ้ามี) หากวัตถุดิบรายการใดมีชื่อทางการค้า ให้กำหนดรหัสลำดับชื่อทางการค้าของแต่ละรายการ ทั้งนี้หน่วยวัตถุดิบต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่รับรองโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้ใช้สำหรับการบริหารการค้าและการขนส่ง
(4.3) รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
(4.4) บัญชีราคาสินค้าของวัตถุดิบ (Invoice)
(4.5) แบบจำลอง (Marker) แสดงการใช้วัตถุดิบ (กรณีจำเป็น เช่นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น)
(4.6) ตัวอย่างวัตถุดิบที่ขอคืนอากร หรือตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
(4.7) กรรมวิธีการผลิต
(4.8) ข้อมูลที่บันทึกในแผ่น Diskette (File Microsoft Excel)
4. การยื่นตารางโอนสิทธิ์
(1) ตารางโอนสิทธิ์ หมายถึง ตารางแสดงการโอนสิทธิ์ใช้ข้อมูลการส่งออกสำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบที่นำเข้า เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
(2) ก่อนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ผู้ส่งของออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารและมีการโอนสิทธิ์ใช้ข้อมูลการส่งออกสำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ต้องจัดทำตารางโอนสิทธิ์ โดยสำแดงข้อมูลในแบบแสดงรายการโอนสิทธิ์เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (กศก.96/6) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และบันทึกลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่น DISKETTE หรือแผ่น CD ROM เป็นต้น ยื่นต่อหน่วยงานพิจารณาคืนอากร ส่วนคืนและชดเชยอากร เพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
(3) ผู้ส่งของออกต้องสำแดงรายละเอียดของการโอนสิทธิ์โดยสำแดงข้อมูลการโอนสิทธิ์ ดังนี้
(3.1) ข้อมูลของผู้โอนสิทธิ์ (ผู้ส่งของออก)
(3.1.1) ชื่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(3.1.2) ชื่อของที่ส่งออก
(3.1.3) เลขที่สูตรการผลิตของที่ส่งออก
(3.1.4) ชื่อวัตถุดิบและรหัสวัตถุดิบของผู้โอนสิทธิ์
(3.2) ข้อมูลของผู้รับโอนสิทธิ์ (ผู้นำของเข้า)
(3.2.1) ชื่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(3.2.2) เลขที่สูตรการผลิตของผู้รับโอนสิทธิ์
(3.2.3) ชื่อวัตถุดิบและรหัสวัตถุดิบของผู้รับโอนสิทธิ์
(3.2.4) ประเภทการใช้สิทธิประโยชน์
(3.2.5) ปริมาณและหน่วยของผลิตภัณฑ์ที่โอนสิทธิ์ (สำหรับกรณีที่โอนสิทธิ์บางส่วนซึ่งไม่ครบเต็มจำนวนที่ส่งออก)
(3.2.6) ปริมาณวัตถุดิบต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์
(3.2.7) กรณีที่ผลิตภัณฑ์ส่งออกมีการเชื่อมโยงกับสูตรการผลิตอื่น ให้สำแดงเลขที่สูตรการผลิตและรหัสวัตถุดิบของสูตรการผลิตนั้น ๆ ด้วย
(4)ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานพิจารณาคืนอากร บันทึกข้อมูลการระบุผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พร้อมออกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ และให้ตรวจสอบข้อมูลในระบบของศุลกากรกับข้อมูลที่เป็นเอกสาร เมื่อถูกต้องตรงกันแล้วให้บันทึกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์พร้อมลงลายมือชื่อกำกับในแบบ กศก.96/6 และส่งสำเนาคืนให้ผู้ยื่นเก็บไว้เป็นหลักฐาน
(5) ข้อมูลตารางโอนสิทธิ์ที่ได้บันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรแล้วไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้ส่งของออกพบว่ามีความคลาดเคลื่อนต้องจัดทำตารางโอนสิทธิ์ใหม่
5. การส่งออกผลิตภัณฑ์
       5.1 การผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI)
              (1) ผู้ส่งของออกต้องส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันนำวัตถุดิบเข้า
              (2) ผู้ส่งของออกจะต้องยื่นชุดใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้าขาออก เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ และ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่ส่งของออก
              (3) ผู้ส่งของออกสามารถขอรับใบแนบใบขนสินค้าขาออกจากหน่วยตรวจปล่อยสินค้าทันที หลังการตรวจปล่อยเสร็จสิ้น หรือขอรับจากหน่วยงานที่ตรวจสอบตัวอย่างได้ทันที หลังการตรวจสอบเสร็จสิ้นเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการคืนอากร ต่อไป
              (4) ในใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้าขาออกจะต้องสำแดงการขอคืนอากร หรือโอนสิทธิ์การคืนอากรไว้ดังนี้
                     (4.1) กรณีที่ผู้ส่งของออกมิใช่ผู้นำของเข้า และประสงค์โอนสิทธิ์การคืนอากร ให้สำแดงข้อความ "ให้ผู้อื่นขอคืนอากร ทั้งฉบับ" พร้อมระบุ ชื่อ-รหัส ผู้นำของเข้า วัตถุดิบ และเลขที่สูตรการผลิตในใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้า ขาออก
                     (4.2) กรณีที่ผู้ส่งของออกเป็นผู้นำของเข้าบางส่วน และประสงค์โอนสิทธิ์การคืนอากรบางส่วนที่เหลือ ให้สำแดง ข้อความ "ให้ผู้อื่นขอคืน อากรบางส่วน" พร้อมระบุ ชื่อ-รหัส ผู้นำของเข้า วัตถุดิบ และเลขที่สูตรการผลิตในใบขนสินค้า ขาออกและใบแนบใบขนสินค้าขาออก
              (5) กรณีส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ขณะส่งออก
                     (5.1) กรมศุลกากรจะตรวจสอบตัวอย่างให้เสร็จภายใน 7 วัน
                     (5.2) ผู้ส่งของออกขอรับตัวอย่างคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งจากกรมศุลกากร
              (6) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการส่งออก
                     (6.1) บัตรตัวอย่างลายมือชื่อเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจ
                     (6.2) บัตรผ่านพิธีการศุลกากร (บัตรตัวแทนออกของ)
                     (6.3) ใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.101/1)
                     (6.4) ใบแนบใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.113)
                     (6.5) บัญชีราคาสินค้า ( Invoice)
                     (6.6) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
                     (6.7) ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับของควบคุมการส่งออก (ถ้ามี)
                     (6.8) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) (ถ้ามูลค่าเกิน 500, 000 บาท)
5.2 การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)
การผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกที่มีการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ให้ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
       (1) ให้ผู้ส่งของออกที่ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
       (1.1) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (19 BIS) ต้องมีค่าเท่ากับ Y เท่านั้น
              (1.2) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิพิเศษ (Privilege Code) ให้ระบุค่าเป็น “003”
              (1.3) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องอัตราอากรขาออก (Export Tariff) ให้ระบุค่าเป็น “9PART3”
              (1.4) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องพิกัดศุลกากร (Tariff Code) ให้บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก
              (1.5) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องเลขที่สูตรการผลิต (Formula No) ให้บันทึกเลขที่สูตรการผลิตที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
              (1.6) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ (19 bis Transfer No) ให้บันทึกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
       (2) ผู้ส่งของออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารไม่ต้องจัดทำใบแนบใบขนสินค้าขาออกขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (กศก.113) และได้รับการผ่อนผันการชักตัวอย่าง
5. ขอคืนอากร

(1) ผู้ประสงค์จะขอคืนอากร ยื่นคำร้องขอคืนอากร พร้อมบัญชีรายละเอียดตามแบบ กศก.111 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งออกต่อส่วนคืนและชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ชั้น 2, 3 อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร

(2) กรณีเอกสารที่ใช้ประกอบการขอคืนอากรครบถ้วนถูกต้อง กรมศุลกากรจะอนุมัติการคืนอากรภายใน 30 วันทำการนับ แต่วันรับแบบคำขอคืนภาษีอากรแต่กรณีชุดคำขอคืนอากรที่มีใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าและใบแนบใบขน สินค้าขาออก รวมกันไม่เกิน 100 ฉบับ กรมศุลกากรจะอนุมัติคืนอากรภายใน 15 วันทำการ ส่วนกรณีผู้ขอคืนอากร ใช้สิทธิ์ GOLD CARD จะได้รับการอนุมัติคืนอากรทันทีที่ยื่นร้องขอตามประกาศ กรมศุลกากรที่ 8/2542 หรือ ใช้สิทธิ์ Customs Broker จะได้รับการอนุมัติคืนอากรภายใน 7 วันทำการ ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 25/2545

(3) การคืนอากรวัตถุดิบนำเข้า จะตัดบัญชีแบบเข้าก่อน-ออกก่อน

(4) ขั้นตอนการพิจารณาคืนอากร
(4.1) รับคำร้องขอคืนอากร
(4.2) เจ้าหน้าที่ (รหัส) จัดเรียงลำดับเอกสารตามที่ผู้ขอคืนอากรแจ้ง
(4.3) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร พร้อมเสนอความเห็นการคืนอากร
(4.4) ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติการคืนอากร
(4.5) งานธุรการออกเลขที่การคืนอากร
(4.6) ออกหนังสือแจ้งผู้ขอคืนอากร

(5) เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการขอคืนอากร
(5.1) ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าและใบแนบใบขนสินค้าขาออก เฉพาะการผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI) หรือระบบ Manual
(5.2) ใบขอคืนค่าภาษีอากร และหนังสือธนาคารค้ำประกัน พร้อมบัญชีรายละเอียดตามแบบ กศก.111
(5.3) รายงานแสดงรายการขอคืนอากรจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จำนวน 5 รายงาน คือ
(5.3.1) รายละเอียดการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาออก (DUTY REFUND ON EXPORTATION)
(5.3.2) สรุปการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาออก (DUTY DRAWBACK CLASSIFIED BY EXPORT ENTRY)
(5.3.3) รายละเอียดการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาเข้า (RAW MATERIAL IMPORTED AND USED)
(5.3.4) สรุปการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาเข้า (DUTY DRAWBACK CLASSIFIED BY IMPORT ENTRY)
(5.3.5) RAW MATERIAL REFUND (กรณีคืนหนังสือธนาคารค้ำประกัน)

6. การขอชำระอากร
กรณีใช้หนังสือธนาคารค้ำประกัน หรือวิธีวางประกันลอย แทนการชำระอากรด้วยเงินสดหากวัตถุดิบไม่ได้ใช้ผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุภายใน 1 ปี ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นใบสรุปยอดเงินภาษีอากรขาเข้า (แบบ กศก.112) เพื่อชำระค่าภาษีอากร พร้อมทั้งเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน ภายในเดือนที่ 13 นับแต่วันนำเข้า

การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิสำหรับของที่นำเข้ามาผลิต ผสม ประกอบ หรือบรรจุสินค้าเพื่อส่งออก โดยวิธีวางประกันลอย

1. หลักเกณฑ์คืนอากรตามมาตรา 19 ทวิโดยวิธีวางประกันลอย ให้ใช้หนังสือของธนาคารที่ทำสัญญาไว้กับกรมศุลกากร ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 85/2545 วางประกันรวมครั้งเดียว ซึ่งครอบคลุมการนำเข้าได้หลายครั้ง โดยที่ ยอดวงเงินค้ำประกันจะมีการเคลื่อนไหวปรับลดลง หรือเพิ่มขึ้นตามการนำเข้า แต่ละเที่ยวเรือและการส่งออกแต่ละครั้ง

2. ข้อดี
2.1 ลดภาระการใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันสำหรับผู้ประกอบการ
2.2 การขอคืนอากรไม่ยุ่งยาก
2.3 สามารถขอคืนอากรได้ทุกครั้งสำหรับการส่งออกแต่ละเที่ยวเรือ
2.4 คืนอากรรวดเร็วขึ้น
3. ขั้นตอนดำเนินการของระบบการคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอย
(1) ผู้ประกอบการติดต่อธนาคาร ตามข้อ 1 เพื่อขอให้ค้ำประกันค่าภาษีอากรต่อกรมศุลกากรในวงเงิน ที่ผู้ประกอบการพิจารณาเห็นสมควร
(2) ธนาคารตามข้อ 1 จะออกหนังสือแจ้งการอนุมัติวงเงินค้ำประกัน พร้อมแจ้งให้กรมศุลกากรทราบทาง คอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์
(3) ผู้ประกอบการยื่นคำร้องขออนุมัติหลักการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิโดยวิธีวางประกันลอยต่อส่วนคืน และชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
(4) หน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยลงทะเบียนรับหนังสือแจ้งการอนุมัติวงเงินค้ำประกันของผู้ประกอบการ แต่ละราย และจัดเก็บเอกสาร
(5) เมื่อผู้ประกอบการนำของเข้าและยื่นใบขนสินค้าขาเข้าตามพิธีการปกติ แต่ก่อนการ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปยื่นต่อหน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยให้ทำการบันทึกวงเงิน ค้ำประกันก่อน เพื่อลดวงเงินค้ำประกันตามจำนวนของค่าภาษีอากรวัตถุดิบที่นำเข้า
(6) ผู้ประกอบการทำการผลิต ผสม ประกอบ หรือบรรจุสินค้า
(7) ยื่นสูตรการผลิตและรหัสวัตถุดิบภายในเวลาอันสมควรก่อนทำการยื่นใบขนสินค้าขาออก
(8) ส่งออกสินค้าโดยยื่นใบขนสินค้าขาออกตามพิธีการปกติ
(9) ผู้ประกอบการสามารถขอคืนอากรได้ทันทีหลังวันเรือออก และขอคืนได้ทุกครั้งที่มีการส่งออกไม่ต้องรอให้ส่งออกครบทั้งจำนวน ที่นำเข้า
(10) หน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยจะพิจารณาคืนอากรให้ได้ทันที นับแต่หน่วยฯได้รับคำร้อง หน่วยจะบันทึกการคืนอากร โดยเพิ่มยอดวงเงินค้ำประกันเท่ากับจำนวนค่าภาษีอากรที่ขอคืนพร้อมออกหลักฐานให้ผู้ขอคืนอากร







การยื่นขอต้นทุน 

การยื่นขอตรวจสอบคุณสมบัติถิ่นกำเนิดสินค้า (ต้นทุน) สำหรับสินค้าพิกัดอัตราศุลกากร ตอนที่ 25-97 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) มีขั้นตอน ดังนี้

- เข้าสู่ website: www.dft.go.th เลือกแบนเนอร์ "e-foreign trade" แล้วเลือกหัวข้อ "ตรวจถิ่นกำเนิดสินค้า" เลือกเมนู "ลงทะเบียนใหม่"
- ลงทะเบียนขอรับ User Name/Password โดยกรอกรายละเอียดข้อมูลคำขอลงทะเบียนให้ครบถ้วน (USER กลาง หรือ USER สำหรับคำขอ CO ใช้ด้วยกันไม่ได้)
- พิมพ์แบบคำขอลงทะเบียนและคำรับรองฯ นำมายื่นพร้อมเอกสารประกอบที่สำนักบริหารการนำเข้าชั้น 5 กรมการค้าต่างประเทศ เพื่อขอรับ User Name/Password
- กรอก User Name/Password เพื่อเข้าสู่ระบบและบันทึกรายละเอียดข้อมูลของสินค้าที่จะขอรับการตรวจสอบคุณสมบัติฯ เพื่อส่งให้ระบบใช้ในการประมวลผล
- พิมพ์คำรับรองข้อมูลการผลิตสินค้าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า ออกจากระบบฯ นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจยืนยันข้อมูลและรับผลการตรวจสอบคุณสมบัติฯ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dft.go.th เลือกหัวข้อ "บริการข้อมูล" เลือก "เอกสารเผยแพร่" ดูที่หัวข้อ "คู่มือการรับบริการยื่นขอตรวจสอบรับรองคุณสมบัติถิ่นกำเนิดสินค้า" และ "ขั้นตอนการบันทึกและส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต"

ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : CO) คือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่ระบุไว้ในแต่ละความตกลงของ ประเทศสมาชิกภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการได้ถิ่นกำเนิดของสินค้าที่ส่งมาจากประเทศสมาชิก ภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในประเทศสมาชิก ภาคีผู้นำเข้า
ผู้นำเข้าควรตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ตามเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามข้อตกลงของเขตการค้าเสรีแต่ละฉบับ ก่อนนำมาแสดงต่อกรมศุลกากร

ประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)

1.    หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) คือเอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันกับผู้ซื้อว่า สินค้าที่ส่งออกไปนั้น ประกอบด้วยวัตถุดิบภายในประเทศ มีการผลิต หรือผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตภายในประเทศไทย
2.    หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin) คือเอกสารที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ โดยทำให้ผู้ซื้อสามารถมีสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนๆไขของแต่ละความตกลง ดังนี้

1)    ฟอร์ม A (Certificate of Origin Form A) ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิ์ อัตราภาษีพิเศษ ตามเงื่อนไข GSP ที่อนุญาตโดยกลุ่มประเทศ และประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป (EU), สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, แคนาดา, นอร์เวย์ เป็นต้น

2)    ฟอร์ม FTA (Certificate of Origin Form FTA) ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรตามเงื่อนไขของข้อตกลง เขตการค้าเสรี ปัจจุบันประเทศไทยมีเขตการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 7 เขตการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน  เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน   เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น และเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการนำเข้าโดยขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรภายใต้เขตการค้าเสรี ไทย-นิวซีแลนด์ไม่ต้องนำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดมาแสดงแต่ให้รับรองการได้ ถิ่นกำเนิดของสินค้าในบัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือเอกสารกำกับสินค้าอื่นใด สำหรับบางเขตการค้าเสรีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
เขตการค้าเสรีอาเซียน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม ดี
เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม อี
เขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด สินค้า เรียกว่า ฟอร์ม เอเจ

3)    ฟอร์ม GSTP (Certificate of Origin Form GSTP)ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรตาม จาก 40 ประเทศกำลังพัฒนา อาทิ แอลจีเรีย, อาร์เจนตินา, บังกลาเทศ, โบลิเวีย, บราซิล, แคเมอรูน, ชิลี และ คิวบา เป็นต้น

4)    ฟอร์ม AISP (Certificate of Origin Form FTA AISP) กัมพูชา  ลาว พม่าเป็นผู้ออกฟอร์มนี้ เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าประเทศไทย

การ ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

กรมศุลกากร ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้ที่ต้องการขอหนังสือดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่
•    กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
•    หอการค้าไทย และ
•    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)