วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556


การคืนอากรตามมาตรา ๑๙ ทวิ

การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 9 ) พ.ศ. 2482 เป็นการคืนค่าภาระภาษีอากร สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า ได้แก่ อากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมภาษีอื่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย ที่ผู้นำของเข้าได้เสียหรือวางประกันไว้ขณะนำเข้าเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตผสม ประกอบหรือบรรจุเป็นสินค้าส่งออก แล้วก็จะได้รับการคืนอากรโดยจะคำนวณค่าภาษีอากรที่คืนให้ตามสูตรการผลิต ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข ว่าจะต้องผลิตส่งออกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้นำเข้า และต้องขอคืนเงินอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

(1) ของที่นำเข้ามา ต้องนำมาผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ แล้วส่งออกไปต่างประเทศ หรือส่งไปเป็นของใช้ สิ้นเปลืองในเรือเดินทาง ไปต่างประเทศ
(2) ของที่นำเข้ามาต้องมิใช่ของที่กฎกระทรวงระบุห้ามคืนเงินอากร
(3) ปริมาณของที่นำเข้า ซึ่งใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุเป็นของที่ส่งออก ให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่ อธิบดีกรมศุลกากรเห็นชอบ หรือประกาศกำหนดไว้
(4) ของนั้นต้องส่งออกไปทางท่า หรือที่สำหรับการส่งออก ซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า
(5) ของนั้นได้ส่งออกไป ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำของซึ่งใช้ในการผลิต ผสมหรือประกอบเป็นของที่ส่งออก หรือใช้บรรจุ ของที่ส่งออกเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่อาจส่งออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีกรมศุลกากรอาจขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
(6) ผู้นำของเข้าต้องขอคืนอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป แต่อธิบดีกรมศุลกากรจะขยายเวลาออกไป ตามที่เห็นสมควรได้

ของที่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ

1. วัตถุดิบที่เห็นได้ชัดว่ามีอยู่ในของที่ผลิตเพื่อส่งออก
2. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโดยตรงที่มีอยู่ในของที่ผลิตส่งออก แต่ไม่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน
3. วัตถุดิบจำเป็นที่ใช้ในการผลิต

ของที่ไม่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ

1. เครื่องจักร เครื่องมือ แม่พิมพ์ (Mould) เครื่องใช้ในการผลิตชนิดต่าง ๆ
2. เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต


ขั้นตอนคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ

1. การขออนุมัติหลักการ

(1) ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ( แบบ กศก.29) ต่อส่วนคืน และชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร โดยแจ้งความจำนง ดังนี้
       (1.1) ผู้นำของเข้าต้องแจ้งความจำนงว่าจะนำเข้าวัตถุดิบชนิดใด เพื่อผลิตเป็นสินค้าชนิดใด
       (1.2) ผู้นำของเข้าต้องแจ้งความจำนงว่าจะชำระอากรด้วยเงินสด หรือใช้หนังสือธนาคารค้ำประกัน ดังนี้
              (1.2.1) ชำระอากรเป็นเงินสดเต็มจำนวน หรือ
              (1.2.2) ใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันได้ โดยวางประกันให้คุ้มค่าภาษีอากร หรือ
              (1.2.3) ใช้ธนาคารค้ำประกัน โดยวิธีวางประกันลอย ( RGS : Revolving Guarantee System )
              (1.2.4) ผู้นำของเข้าที่ประสงค์จะขอลดอัตราอากรเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่ เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ต้องเป็นนิติบุคคล ไม่มีหนี้สินค้างชำระต่อกรมศุลกากร และไม่มีประวัติที่กรมศุลกากรว่าเคยทุจริตในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ               แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
              (1) เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
              (2) เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน)
              (3) เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและได้รับการรับรองจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ตามหลักเกณฑ์ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
              (4) เป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและได้รับการรับรองจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ตามหลักเกณฑ์ท ี่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
              (5) ได้นำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ตามข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้รับรองว่าเป็นกิจการที่มีกำไรย้อนหลังไม่ต่ำกว่าสองปีบัญชีติดต่อกัน และไม่เคยได้รับการปฏิเสธการรับรองฐานะการเงินจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
              (1.2.5) ผู้นำของเข้าที่ประสงค์จะขอลดอัตราอากรเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ต้องเป็นนิติบุคคล ไม่มีหนี้สินค้างชำระต่อกรมศุลกากร และไม่มีประวัติที่กรมศุลกากรว่าเคยทุจริตในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำของเข้าระดับบัตรทองของกรมศุลกากร

       (2) เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุมัติหลักการ
              (2.1) คำร้องแสดงความจำนงขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ( แบบ กศก.29)
              (2.2)หนังสือรับรองของประทรวงพาณิชย์ที่แสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจกระทำการแทน ทุนจดทะเบียน และที่ตั้งสถานประกอบการ ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
              (2.3) ใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือหนังสือรับรองการประกอบกิจการจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีไม่มีโรงงานเป็นของตนเองให้แสดงหนังสือสัญญาเช่า สัญญาว่าจ้าง               หรือหนังสือสัญญาซื้อขายและใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือหนังสือรับรองการประกอบกิจการจากหน่วยงานของรัฐของผู้ให้เช่า ผู้รับจ้าง หรือผู้ซื้อ
              (2.4) งบการเงินที่ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตรับรอง (กรณีขอใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากร)
       (3) กรมศุลกากรจะมีหนังสือแจ้งการอนุมัติหลักการ และรหัสผู้นำของเข้าภายใน 1 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร ครบถ้วน
2. การนำเข้าวัตถุดิบ
2.1 การผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI)
       (1) ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นชุดใบขนสินค้าขาเข้า และแนบใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า โดยสำแดงข้อความ " ขอคืนอากร ตามมาตรา 19 ทวิ” ( กรณีชำระอากรเป็นเงินสด ) แต่หากเป็นกรณีใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันให้สำแดงข้อความว่า “ ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีค้ำประกัน (หรือวิธีวางประกันลอย)” ที่มุมขวาด้านบนของใบขนสินค้าขาเข้า และ ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อฝ่ายการนำเข้า สำนักงานศุลกากร/ ด่านศุลกากรที่นำเข้า
       (2) ผู้นำของเข้าสามารถขอรับใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า จากหน่วยตรวจปล่อยสินค้าทันที หลังการตรวจปล่อยเสร็จสิ้น/ หรือขอรับจากหน่วยงานที่ตรวจสอบตัวอย่างทันที หลังการตรวจสอบเสร็จสิ้น เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอคืนอากร ต่อไป
(3) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าวัตถุดิบ
       (3.1) บัตรประชาชนเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือผู้รับมอบอำนาจ ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้กับกรมศุลกากร
       (3.2) ใบขนสินค้าขาเข้า ( แบบ กศก.99/1)
       (3.3) ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้า ( แบบ กศก.99 ก)
       (3.4) บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
       (3.5) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
       (3.6) ใบตราส่งสินค้า (B/L, Bill of Lading)
       (3.7) ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตสำหรับของควบคุมการนำเข้า ( ถ้ามี)
       (3.8) แบบธุรกิจต่างประเทศ ( ธ. ต.2) ( ถ้ามูลค่าเกิน 500,000 บาท)
       (3.9) ใบรับรองแหล่งกำเนิด (C/O, Certificate of Original) ( ถ้ามี)
       (3.10) หนังสืออนุมัติหลักการ
       (3.11) รายละเอียด หรือแคตตาล็อคของสินค้า
2.2 การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)
       (1) ให้ผู้นำของเข้าที่ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
              (1.1) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละรายการ (Import Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (19 BIS) ต้องมีค่าเท่ากับ Y เท่านั้น
              (1.2) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละรายการ (Import Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิพิเศษ (Privilege Code)
                     (1.2.1) กรณี ผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด ในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้นำของเข้าระบุรหัสสิทธิพิเศษตามที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ในการชำระภาษีอากรจริง เช่น AF1 การให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน, TAU การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากออสเตรเลีย โดยระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลกับแฟ้มข้อมูลรหัสสิทธิพิเศษ
                     (1.2.2) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ลดอัตราอากรเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป หรือลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ให้ผู้นำของเข้าจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าชำระอากรในอัตราปกติ โดยบันทึกในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ในช่องสิทธิพิเศษ ระบุเป็น “000” อัตราปกติ เท่านั้น
              (1.3) ในส่วนค่าภาษีอากร (Import Declaration Detail (Duty)) ในแต่ละรายการของใบขนสินค้าขาเข้า
                     (1.3.1) กรณี ผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด ในแต่ละรายการของข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้นำของเข้าระบุค่าภาษี (Duty Amount) และช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) เท่ากันตามจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง
                     (1.3.2) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ลดอัตราอากรลงเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป หรือลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป ให้ผู้นำของเข้าระบุค่า ดังนี้
                            (1.3.2.1) ในช่องค่าภาษี (Duty Amount) ให้ระบุค่าภาษีเต็มจำนวน และ
                            (1.3.2.2) ในช่องอัตราอากรลดหย่อน (เปอร์เซ็นต์) (Exemption Rate) ให้ระบุอัตราที่ได้รับลดหย่อน เช่น บันทึกลดหย่อน 95% “95” เพื่อให้คำนวณลดหย่อนยอดเงินอากรที่ต้องชำระจริงลงเหลือร้อยละ 5 ของอัตราปกติ
                            (1.3.2.3) ในช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) ให้ระบุค่าภาษีที่ได้คำนวณลดอัตราอากรแล้ว
                     (1.3.3) กรณี ผู้ได้รับอนุมัติหลักการให้ใช้การค้ำประกันแทนการชำระค่าภาษีอากร ให้ผู้นำของเข้า ระบุค่า ดังนี้
                            (1.3.3.1) ในช่องค่าภาษี (Duty Amount) ให้ระบุค่าภาษีเต็มจำนวน และ
                            (1.3.3.2) ให้บันทึกอัตราอากรลดหย่อน (เปอร์เซ็นต์) (Exemption Rate) เพื่อให้คำนวณลดหย่อนยอดเงินอากรที่ต้องชำระจริง (ถ้ามี)
                            (1.3.3.3) ในช่องค่าภาษีที่ชำระ (Duty Amount < Pay > ) ให้ระบุค่าเป็นศูนย์ “0”
                            (1.3.3.4) ในช่องเงินประกัน (Deposit Amount) ให้ระบุค่าเท่ากับค่าภาษีที่คำนวณได้ แล้วปัดตัวเลขเป็นตัวกลมในหลักสิบ
       (2) ผู้นำของเข้าที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารไม่ต้องจัดทำใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
3.การยื่นสูตรการผลิตในระบบอิเล็คทรอนิคส์ (e-Formula)
(1) ภายในระยะเวลาอันควร ก่อนการส่งของออก ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นคำร้องเพื่อขออนุมัติกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1.1) สูตรการผลิต (รวมสูตรการผลิตที่ใช้วัตถุดิบ 1 หน่วยต่อผลิตภัณฑ์ 1 หน่วย หรือนับชิ้นได้)
(1.2) ขอใช้สูตรการผลิตร่วมกับสูตรการผลิตของผู้อื่นโดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เป็นเจ้าของสูตรการผลิต
(1.3) ขอแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุดิบเข้าในสูตรการผลิตที่กรมศุลกากรอนุมัติแล้ว
(1.4) ขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อผลิตภัณฑ์ในสูตรการผลิตที่กรมศุลกากรอนุมัติแล้ว
(2) สูตรการผลิตที่ยื่นใหม่ กรมศุลกากรจะอนุมัติภายใน 30 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน
(3) สูตรการผลิตที่อนุมัติแล้ว จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดให้ใช้ตัดบัญชีวัตถุดิบ ( ไม่รวมสูตรมาตรฐาน) และขอต่ออายุสูตรการผลิตได้คราวละ 5 ปี ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 66/2551
(4) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการยื่นสูตรการผลิต
(4.1) คำร้องขอยื่นสูตรการผลิต (แบบ กศก.96)
(4.2) รายชื่อวัตถุดิบ รหัสวัตถุดิบ หน่วยวัตถุดิบ ปริมาณการใช้วัตถุดิบรวมส่วนสูญเสีย (ถ้ามี) หากวัตถุดิบรายการใดมีชื่อทางการค้า ให้กำหนดรหัสลำดับชื่อทางการค้าของแต่ละรายการ ทั้งนี้หน่วยวัตถุดิบต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่รับรองโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้ใช้สำหรับการบริหารการค้าและการขนส่ง
(4.3) รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
(4.4) บัญชีราคาสินค้าของวัตถุดิบ (Invoice)
(4.5) แบบจำลอง (Marker) แสดงการใช้วัตถุดิบ (กรณีจำเป็น เช่นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น)
(4.6) ตัวอย่างวัตถุดิบที่ขอคืนอากร หรือตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
(4.7) กรรมวิธีการผลิต
(4.8) ข้อมูลที่บันทึกในแผ่น Diskette (File Microsoft Excel)
4. การยื่นตารางโอนสิทธิ์
(1) ตารางโอนสิทธิ์ หมายถึง ตารางแสดงการโอนสิทธิ์ใช้ข้อมูลการส่งออกสำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบที่นำเข้า เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
(2) ก่อนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ผู้ส่งของออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารและมีการโอนสิทธิ์ใช้ข้อมูลการส่งออกสำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ต้องจัดทำตารางโอนสิทธิ์ โดยสำแดงข้อมูลในแบบแสดงรายการโอนสิทธิ์เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (กศก.96/6) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และบันทึกลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่น DISKETTE หรือแผ่น CD ROM เป็นต้น ยื่นต่อหน่วยงานพิจารณาคืนอากร ส่วนคืนและชดเชยอากร เพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
(3) ผู้ส่งของออกต้องสำแดงรายละเอียดของการโอนสิทธิ์โดยสำแดงข้อมูลการโอนสิทธิ์ ดังนี้
(3.1) ข้อมูลของผู้โอนสิทธิ์ (ผู้ส่งของออก)
(3.1.1) ชื่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(3.1.2) ชื่อของที่ส่งออก
(3.1.3) เลขที่สูตรการผลิตของที่ส่งออก
(3.1.4) ชื่อวัตถุดิบและรหัสวัตถุดิบของผู้โอนสิทธิ์
(3.2) ข้อมูลของผู้รับโอนสิทธิ์ (ผู้นำของเข้า)
(3.2.1) ชื่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(3.2.2) เลขที่สูตรการผลิตของผู้รับโอนสิทธิ์
(3.2.3) ชื่อวัตถุดิบและรหัสวัตถุดิบของผู้รับโอนสิทธิ์
(3.2.4) ประเภทการใช้สิทธิประโยชน์
(3.2.5) ปริมาณและหน่วยของผลิตภัณฑ์ที่โอนสิทธิ์ (สำหรับกรณีที่โอนสิทธิ์บางส่วนซึ่งไม่ครบเต็มจำนวนที่ส่งออก)
(3.2.6) ปริมาณวัตถุดิบต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์
(3.2.7) กรณีที่ผลิตภัณฑ์ส่งออกมีการเชื่อมโยงกับสูตรการผลิตอื่น ให้สำแดงเลขที่สูตรการผลิตและรหัสวัตถุดิบของสูตรการผลิตนั้น ๆ ด้วย
(4)ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานพิจารณาคืนอากร บันทึกข้อมูลการระบุผู้ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พร้อมออกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ และให้ตรวจสอบข้อมูลในระบบของศุลกากรกับข้อมูลที่เป็นเอกสาร เมื่อถูกต้องตรงกันแล้วให้บันทึกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์พร้อมลงลายมือชื่อกำกับในแบบ กศก.96/6 และส่งสำเนาคืนให้ผู้ยื่นเก็บไว้เป็นหลักฐาน
(5) ข้อมูลตารางโอนสิทธิ์ที่ได้บันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรแล้วไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้ส่งของออกพบว่ามีความคลาดเคลื่อนต้องจัดทำตารางโอนสิทธิ์ใหม่
5. การส่งออกผลิตภัณฑ์
       5.1 การผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI)
              (1) ผู้ส่งของออกต้องส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันนำวัตถุดิบเข้า
              (2) ผู้ส่งของออกจะต้องยื่นชุดใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้าขาออก เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ และ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่ส่งของออก
              (3) ผู้ส่งของออกสามารถขอรับใบแนบใบขนสินค้าขาออกจากหน่วยตรวจปล่อยสินค้าทันที หลังการตรวจปล่อยเสร็จสิ้น หรือขอรับจากหน่วยงานที่ตรวจสอบตัวอย่างได้ทันที หลังการตรวจสอบเสร็จสิ้นเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการคืนอากร ต่อไป
              (4) ในใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้าขาออกจะต้องสำแดงการขอคืนอากร หรือโอนสิทธิ์การคืนอากรไว้ดังนี้
                     (4.1) กรณีที่ผู้ส่งของออกมิใช่ผู้นำของเข้า และประสงค์โอนสิทธิ์การคืนอากร ให้สำแดงข้อความ "ให้ผู้อื่นขอคืนอากร ทั้งฉบับ" พร้อมระบุ ชื่อ-รหัส ผู้นำของเข้า วัตถุดิบ และเลขที่สูตรการผลิตในใบขนสินค้าขาออก และใบแนบใบขนสินค้า ขาออก
                     (4.2) กรณีที่ผู้ส่งของออกเป็นผู้นำของเข้าบางส่วน และประสงค์โอนสิทธิ์การคืนอากรบางส่วนที่เหลือ ให้สำแดง ข้อความ "ให้ผู้อื่นขอคืน อากรบางส่วน" พร้อมระบุ ชื่อ-รหัส ผู้นำของเข้า วัตถุดิบ และเลขที่สูตรการผลิตในใบขนสินค้า ขาออกและใบแนบใบขนสินค้าขาออก
              (5) กรณีส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ขณะส่งออก
                     (5.1) กรมศุลกากรจะตรวจสอบตัวอย่างให้เสร็จภายใน 7 วัน
                     (5.2) ผู้ส่งของออกขอรับตัวอย่างคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งจากกรมศุลกากร
              (6) เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการส่งออก
                     (6.1) บัตรตัวอย่างลายมือชื่อเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจ
                     (6.2) บัตรผ่านพิธีการศุลกากร (บัตรตัวแทนออกของ)
                     (6.3) ใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.101/1)
                     (6.4) ใบแนบใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.113)
                     (6.5) บัญชีราคาสินค้า ( Invoice)
                     (6.6) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
                     (6.7) ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับของควบคุมการส่งออก (ถ้ามี)
                     (6.8) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) (ถ้ามูลค่าเกิน 500, 000 บาท)
5.2 การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)
การผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกที่มีการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ให้ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
       (1) ให้ผู้ส่งของออกที่ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
       (1.1) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (19 BIS) ต้องมีค่าเท่ากับ Y เท่านั้น
              (1.2) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องการใช้สิทธิพิเศษ (Privilege Code) ให้ระบุค่าเป็น “003”
              (1.3) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องอัตราอากรขาออก (Export Tariff) ให้ระบุค่าเป็น “9PART3”
              (1.4) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องพิกัดศุลกากร (Tariff Code) ให้บันทึกพิกัดศุลกากรให้ตรงกับชนิดของของที่ส่งออก
              (1.5) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องเลขที่สูตรการผลิต (Formula No) ให้บันทึกเลขที่สูตรการผลิตที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
              (1.6) ในส่วนรายละเอียดของใบขนสินค้าขาออกแต่ละรายการ (Export Declaration Detail) ในช่องเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ (19 bis Transfer No) ให้บันทึกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
       (2) ผู้ส่งของออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารไม่ต้องจัดทำใบแนบใบขนสินค้าขาออกขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ (กศก.113) และได้รับการผ่อนผันการชักตัวอย่าง
5. ขอคืนอากร

(1) ผู้ประสงค์จะขอคืนอากร ยื่นคำร้องขอคืนอากร พร้อมบัญชีรายละเอียดตามแบบ กศก.111 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งออกต่อส่วนคืนและชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ชั้น 2, 3 อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร

(2) กรณีเอกสารที่ใช้ประกอบการขอคืนอากรครบถ้วนถูกต้อง กรมศุลกากรจะอนุมัติการคืนอากรภายใน 30 วันทำการนับ แต่วันรับแบบคำขอคืนภาษีอากรแต่กรณีชุดคำขอคืนอากรที่มีใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าและใบแนบใบขน สินค้าขาออก รวมกันไม่เกิน 100 ฉบับ กรมศุลกากรจะอนุมัติคืนอากรภายใน 15 วันทำการ ส่วนกรณีผู้ขอคืนอากร ใช้สิทธิ์ GOLD CARD จะได้รับการอนุมัติคืนอากรทันทีที่ยื่นร้องขอตามประกาศ กรมศุลกากรที่ 8/2542 หรือ ใช้สิทธิ์ Customs Broker จะได้รับการอนุมัติคืนอากรภายใน 7 วันทำการ ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 25/2545

(3) การคืนอากรวัตถุดิบนำเข้า จะตัดบัญชีแบบเข้าก่อน-ออกก่อน

(4) ขั้นตอนการพิจารณาคืนอากร
(4.1) รับคำร้องขอคืนอากร
(4.2) เจ้าหน้าที่ (รหัส) จัดเรียงลำดับเอกสารตามที่ผู้ขอคืนอากรแจ้ง
(4.3) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร พร้อมเสนอความเห็นการคืนอากร
(4.4) ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติการคืนอากร
(4.5) งานธุรการออกเลขที่การคืนอากร
(4.6) ออกหนังสือแจ้งผู้ขอคืนอากร

(5) เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการขอคืนอากร
(5.1) ใบแนบใบขนสินค้าขาเข้าและใบแนบใบขนสินค้าขาออก เฉพาะการผ่านพิธีการศุลกากรระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI) หรือระบบ Manual
(5.2) ใบขอคืนค่าภาษีอากร และหนังสือธนาคารค้ำประกัน พร้อมบัญชีรายละเอียดตามแบบ กศก.111
(5.3) รายงานแสดงรายการขอคืนอากรจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จำนวน 5 รายงาน คือ
(5.3.1) รายละเอียดการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาออก (DUTY REFUND ON EXPORTATION)
(5.3.2) สรุปการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาออก (DUTY DRAWBACK CLASSIFIED BY EXPORT ENTRY)
(5.3.3) รายละเอียดการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาเข้า (RAW MATERIAL IMPORTED AND USED)
(5.3.4) สรุปการคืนอากรตามใบขนสินค้าขาเข้า (DUTY DRAWBACK CLASSIFIED BY IMPORT ENTRY)
(5.3.5) RAW MATERIAL REFUND (กรณีคืนหนังสือธนาคารค้ำประกัน)

6. การขอชำระอากร
กรณีใช้หนังสือธนาคารค้ำประกัน หรือวิธีวางประกันลอย แทนการชำระอากรด้วยเงินสดหากวัตถุดิบไม่ได้ใช้ผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุภายใน 1 ปี ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นใบสรุปยอดเงินภาษีอากรขาเข้า (แบบ กศก.112) เพื่อชำระค่าภาษีอากร พร้อมทั้งเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน ภายในเดือนที่ 13 นับแต่วันนำเข้า

การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิสำหรับของที่นำเข้ามาผลิต ผสม ประกอบ หรือบรรจุสินค้าเพื่อส่งออก โดยวิธีวางประกันลอย

1. หลักเกณฑ์คืนอากรตามมาตรา 19 ทวิโดยวิธีวางประกันลอย ให้ใช้หนังสือของธนาคารที่ทำสัญญาไว้กับกรมศุลกากร ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 85/2545 วางประกันรวมครั้งเดียว ซึ่งครอบคลุมการนำเข้าได้หลายครั้ง โดยที่ ยอดวงเงินค้ำประกันจะมีการเคลื่อนไหวปรับลดลง หรือเพิ่มขึ้นตามการนำเข้า แต่ละเที่ยวเรือและการส่งออกแต่ละครั้ง

2. ข้อดี
2.1 ลดภาระการใช้หนังสือธนาคารค้ำประกันสำหรับผู้ประกอบการ
2.2 การขอคืนอากรไม่ยุ่งยาก
2.3 สามารถขอคืนอากรได้ทุกครั้งสำหรับการส่งออกแต่ละเที่ยวเรือ
2.4 คืนอากรรวดเร็วขึ้น
3. ขั้นตอนดำเนินการของระบบการคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอย
(1) ผู้ประกอบการติดต่อธนาคาร ตามข้อ 1 เพื่อขอให้ค้ำประกันค่าภาษีอากรต่อกรมศุลกากรในวงเงิน ที่ผู้ประกอบการพิจารณาเห็นสมควร
(2) ธนาคารตามข้อ 1 จะออกหนังสือแจ้งการอนุมัติวงเงินค้ำประกัน พร้อมแจ้งให้กรมศุลกากรทราบทาง คอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์
(3) ผู้ประกอบการยื่นคำร้องขออนุมัติหลักการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิโดยวิธีวางประกันลอยต่อส่วนคืน และชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
(4) หน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยลงทะเบียนรับหนังสือแจ้งการอนุมัติวงเงินค้ำประกันของผู้ประกอบการ แต่ละราย และจัดเก็บเอกสาร
(5) เมื่อผู้ประกอบการนำของเข้าและยื่นใบขนสินค้าขาเข้าตามพิธีการปกติ แต่ก่อนการ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปยื่นต่อหน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยให้ทำการบันทึกวงเงิน ค้ำประกันก่อน เพื่อลดวงเงินค้ำประกันตามจำนวนของค่าภาษีอากรวัตถุดิบที่นำเข้า
(6) ผู้ประกอบการทำการผลิต ผสม ประกอบ หรือบรรจุสินค้า
(7) ยื่นสูตรการผลิตและรหัสวัตถุดิบภายในเวลาอันสมควรก่อนทำการยื่นใบขนสินค้าขาออก
(8) ส่งออกสินค้าโดยยื่นใบขนสินค้าขาออกตามพิธีการปกติ
(9) ผู้ประกอบการสามารถขอคืนอากรได้ทันทีหลังวันเรือออก และขอคืนได้ทุกครั้งที่มีการส่งออกไม่ต้องรอให้ส่งออกครบทั้งจำนวน ที่นำเข้า
(10) หน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยจะพิจารณาคืนอากรให้ได้ทันที นับแต่หน่วยฯได้รับคำร้อง หน่วยจะบันทึกการคืนอากร โดยเพิ่มยอดวงเงินค้ำประกันเท่ากับจำนวนค่าภาษีอากรที่ขอคืนพร้อมออกหลักฐานให้ผู้ขอคืนอากร






3 ความคิดเห็น:

  1. ต้องติดต่อที่ไหนคะ สนใจให้จดสูตรการผลิตให้ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ต้องติดต่อที่ไหนคะ สนใจให้จดสูตรการผลิตให้ค่ะ

    ตอบลบ